บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2018

3รูปเล็ก

ดับ ดวงประทีปอันดามัน พระยารัษฎาฯ บิดายางพาราไทย คุณความดียิ่งใหญ่ทั่วอันดามัน (มีคลิป)

รูปภาพ
ดับ ดวงประทีปอันดามัน พระยารัษฎาฯ บิดายางพาราไทย พระยารัษฎาฯ ได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๔๕๖ อายุ ๕๖ ปีโดยถูก หมอจันทร์ แพทย์ประจำจังหวัดตรัง เป็นผู้ยิง หมอจันทร์ เป็นหมออยู่ที่กรมทหารเรือ กรุงเทพฯ ได้ถูกออกจากราชการ มีผู้ใหญ่ฝากมาให้พระยารัษฎาฯ อุปการะที่เมืองตรัง หมอจันทร์มาได้นางซ่วน หรือซิ่ว เป็นภรรยาลับ และเป็นสาเหตุของเรื่องเศร้านี้ ก่อนเกิดเหตุไม่กี่วัน พระยารัษฎาฯ ได้เรียกบรรดาข้าหลวงประจำจังหวัดต่างๆ ในมณฑลภูเก็ตรวมทั้งพระสถลสถานพิทักษ์ (คอยู่เกียด ณ ระนอง) ข้าหลวงประจำจังหวัดตรัง ไปประชุมที่ภูเก็ต เมื่อประชุมเสร็จ พระยารัษฎาฯ ได้เดินทางไปปีนัง เพื่อรักษาสุขภาพ แล้วจะกลับมาตรวจราชการในจังหวัดต่างๆ ต่อไป พระสถลฯ ได้นั่งเรือเทพกษัตรีกลับเมืองตรัง มีข้าราชการเมืองพังงาอาศัยมาด้วยหลายคนเพื่อจะไปลงที่เกาะปันหยี เมืองพังงา ระหว่างนั้น ได้พบว่า มีหญิงชื่อซ่วน หรือซิ่ว อาศัยมาด้วยโดยมิได้รับอนุญาต จึงถูกไล่ลงที่เกาะปันหยี เมื่อส่งข้าราชการเมืองพังงา แล้วเรือก็แล่นต่อไปยัง เมืองตรัง หมอจันทร์ได้รับโทรเลขจากนางซ่วนให้ไปรับ แต่พระสถลฯ ไม่อนุญาต เพราะเจ้าคุณเทศา (พระย

ดอกศรีตรัง คุณรุ้จักดอกศรีตรังมากแค่ไหน (มีคลิป)

รูปภาพ
ดอกศรีตรัง คุณรุ้จักดอกศรีตรังมากแค่ไหน (มีคลิป) ศรีตรัง พันธุ์ไม้พระราชทาน เพื่อปลูกเป็นมงคล ศรีตรัง คือศรี แห่งชีวิต คือเข็มทิศ บ่งชี้ แห่งศรีศักดิ์ สีม่วง สีงาม ศรีความรัก จำหลัก ความดี เป็นศรีใจ ……เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2557 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ จากห้องที่ประทับ ชั้น 16 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ลงยังบริเวณสนามหน้าพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงทอดพระเนตรต้นศรีตรัง ที่ทรงปลูกเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2554 .........เนื่องจากต้นศรีตรังพันธุ์ไม้พระราชทาน เพื่อปลูกเป็นมงคล วันนี้จึงขอหยิบยก ต้นศรีตรัง มานำเสนอและมาเผยแพร่ให้ทราบ .........ศรีตรัง เป็นชื่อไม้พื้นเมืองเขตร้อน มีต้นกำเนิดอยู่ในถิ่นอเมริกาใต้ เป็นไม้ต้นขนาดเล็กในวงศ์ Bignoniaceae และเป็นพันธุ์ไม้พระราชทาน เพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดตรัง แพร่หลายเข้ามาในแหลมมลายูพร้อมกับชนชาติตะวันตก ต่อมาพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ได้นำมาปลูกไว้ที่เมืองตรัง และให้ชื่อว่าศรีตรัง ดอกบานในหน้าแล้ง สีม่วงตระการตา สมกับวลีที่ว่า เด่นสง่าดอกศรีตรัง (ส่วนหนึ่งของคำขวัญประจำจังหวั

รอยพระบาท ยาตรเยื้อง.......เมืองตรัง (มีคลิป)

รูปภาพ
รอยพระบาท ยาตรเยื้อง.......เมืองตรัง รอยพระบาท ยาตรเยื้อง.......เมืองตรัง บอกเรื่องลูก หลานฟัง……..รับรู้ เสียงขานต่อปากยัง............ .บอกเล่า กันนา จำจดตรังทุกผู้.......................ซาบซึ้งบารมี ……. “หลังจากองค์ประมุขแห่งชาติทั้งสองพระองค์ได้เสด็จเยี่ยมเยือนพสกนิกรชาวภาคใต้หลายจังหวัดเรื่อยมา จนกระทั่งถึงจังหวัดตรัง ซึ่งประชาชนได้รอเฝ้าชมพระบารมีกันอย่างคับคั่ง พ.ต.อ.บุณณรงค์ วัฑฒนายน ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ได้เป็นประธานในการต้อนรับเสด็จครั้งนี้ อย่างมโหฬาร...  …….. เวลา ๑๐.๐๐ น. กองเกียรติยศ ตำรวจภูธรภาค ๘ เดินขบวนเตรียมต้อนรับเสด็จรอบๆ บริเวณตลาด ต่อจากนั้น ขบวนพาเหรดจากนักเรียนโรงเรียนต่าง ๆ ก็เดินแถวหยุดรายเรียงตามทางผ่าน ๒ ถนน เพื่อเฝ้ารับเสด็จ ท่ามกลางแสงแดดที่อ่อน ๆ และประชาชน จากทุกอำเภอมารอรับเฝ้าชมบุญบารมีกันแน่นขนัด ทุกอาคารบ้านเรือน ประดับธงทิวโบกสบัด ทำให้บรรยากาศของวันนั้นอบอวลไปด้วยความซาบซึ้งตรึงใจของประชาชนทุกคน ในพระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าล้นกระหม่อมทั้งสองพระองค์ ....... จวบจนกระทั่งถึงเวลา ๑๓.๐๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชินีนาถ เสด็จถ

“บ้านโบราณ 2486” บ้านเลขที่ 324 ถนนกันตัง ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

รูปภาพ
“บ้านโบราณ 2486” บ้านเลขที่ 324 ถนนกันตัง ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง บ้านโบราณ 2486” บ้านเลขที่ 324 ถนนกันตัง ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง สร้างพ.ศ. 2486 เป็นบ้านพักอาศัย บ้านโบราณ 2486 ออกแบบโดย นายตุย ธนทวี เป็นชาวจีนไหหลำ นายช่างในสมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ นายตุยมีบทบาทในการสร้างทางรถไฟสายตรัง-กันตัง ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในขณะนั้น และยังสร้างทางเขาพับผ้าด้วยเช่นกัน เมื่อนางเอ้ง ธนทวี บุตรีของนายตุย ธนทวี แต่งงานกับนายยุติ ธรรมประดิษฐ์ นายตุยได้เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างบ้านโบราณ 2486 ให้กับนางเอ้ง และนายยุติ โดยนายย ุติ มีภูมิลำเนาเดิมอยู่จังหวัดภูเก็ต ต่อมาได้ย้ายมาทำธุรกิจในกันตัง เป็นผู้จัดการ บริษัท กันตัง จำกัด ค้าขายสินค้านำเข้าจากกรุงเทพ เช่น น้ำมัน เหล้า ข้าวสาร ไม้ และค้าขายทอง ชื่อ ห้างทองยวดเฮง นอกจากนั้น ยังทำธุรกิจเดินเรือระหว่างปีนัง และภายหลังญาติของนายยุติได้รับสัมปทานเหมืองแร่ดีบุก ที่ตำบลในเตา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง นายยุติจึงได้มาเป็นผู้จัดการดูแลกิจการเหมืองนี้ ในการก่อสร้างอาคารนั้น ใช้ช่างท้องถิ่นตรังเป็นคนก่อ

คลองด่านช้าง อ.ย่านตาขาว ณ จังหวัดตรัง (มีคลิป)

รูปภาพ
คลองด่านช้าง อ.ย่านตาขาว ณ จังหวัดตรัง (มีคลิป) แหล่งท่องเที่ยวน้ำจืดแห่งใหม่ประเภทน้ำตก ในพื้นที่เทศบาล ต.ทุ่งกระบือ อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง เหมาะต่อการพักผ่อนหย่อนใจ และลงเล่นน้ำ แถมยังอยู่ใกล้ตัวเมืองมากที่สุด นายธเนศ คืนตัก นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งกระบือ อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง พร้อมด้วย นายวินัย พากเพียร ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 6 บ้านทุ่งสำราญ ต.ทุ่งกระบือ และนายคารม ชูทวี หรือ ส.ท.ต๊อก ประธานชุมชนคลองด่านช้าง ได้นำผู้สื่อข่าวเดินทางไปสำรวจแหล่งท่องเที่ยวน้ำจืดแห่งใหม่ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่สาธารณประโยชน์ เ นื้อที่ประมาณ 5 ไร่ บริเวณริมคลองด่านช้าง โดยมีสายน้ำจากเทือกเขาบรรทัด รอยต่อระหว่างจังหวัดตรัง-พัทลุง แล้วไหลลงสู่คลองกะช่อง และผ่านมายังคลอง 4 ตำบลของอำเภอย่านตาขาว สู่คลองด่านช้าง ก่อนไหลไปบรรจบกับคลองหาร เพื่อลงสู่ทะเลอันดามันในพื้นที่อำเภอกันตัง  ทั้งนี้ เดิมทีบริเวณตำบลทุ่งกระบือ และใกล้เคียงเมื่อครั้งอดีตได้มีการนำช้างจำนวนนับสิบเชือกเข้ามาทำงานชักลากไม้ รวมทั้งช้างอีทอง ช้างเพศเมียแสนรู้ของตระกูลคีรีรัตน์ และมีการนำไปพักเล่นน้ำอยู่ที่คลองด่านช้าง จนกระทั่งต่อมา ช้างเชือก

ลักษณะสภาพของทับกลุ่มมันนิบ้านควนไม้ดำ ปะเหลียน ณ จังหวัดตรัง (มีคลิป)

รูปภาพ
ลักษณะสภาพของทับกลุ่มมันนิบ้านควนไม้ดำ ปะเหลียน ณ จังหวัดตรัง ลักษณะสภาพของทับกลุ่มมันนิบ้านควนไม้ดำ ปะเหลียน ตรัง เข้าป่าไป เยี่ยมเยือน ถึงเรือนทับ เรียงสลับ ในกลางดง พงป่าเขา เลี้ยงชีวิต นานดำรง พงลำเนา ทับคือเหย้า ชาวป่า มาแต่บรรพ สภาพที่พักของกลุ่มมันนิที่บ้านควนไม้ดำ กลุ่มมันนิเรียกว่า "ทับ" ลักษณะการปลูก จะปลูกที่นอนสูงว่าพื้นดินเล็กน้อย โดยใช้ไม้ไผ่เรียงสูงแบบ 45 องศา เวลานอนหัวจะสูง ได้มีโอกาสถาม ชาวมันนิให้เหตุผลว่า 1.เป็นป้องกันอันตรายจากสัตว์เล็กที่อยู่ในดิน 2.เป็นกระวังภัยเมื่อเกิดอันตรายเกิดขึ้นกับชาวมันนิด้วยกันสามารถรุกไปช่วยเหลือสมาชิกในกลุ่มได้รวดเร็วทันที  3.เป็นที่นอนที่นวดตัว และหัวสูง ทำให้นอนหลับอย่างสบาย ลักษณะการปลูกทับของกลุ่มมัน บางครั้งเป็นวงกลม หรือเป็นวงรี โดยมีที่พักของหัวหน้ากลุ่มมันนิปลูกอยู่ตรงกลาง ที่พักแต่ละหลังหันหน้าเข้าหากันหมด เพราะต้องเห็นว่าสมาชิกทำอะไร และสิ่งสำคัญเวลาที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นสามารถช่วยเหลือกันได้ทันที วัฒนธรรมชนเผ่ามันิ พวกชนเผ่ามันนิ หรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่าพวกชาวป่า หรือ เงาะ แต่คนเหล่านี้เรียกตัวเองว่า มั

ร้านอาหารวันวาน Local food at trang กินเท่านี้แต่จ่ายเท่าไหร่ก็ได้ เจ๋งดี ไม่ดูพลาดมาก (มีคลิป)

รูปภาพ
ร้านอาหารวันวาน Local food at trang กินเท่านี้แต่จ่ายเท่าไหร่ก็ได้ เจ๋งดีไม่ดูพลาดมาก (มีคลิป) “พิศาล เกิดควน” หนุ่มนักกฎหมาย จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และ “กาญจนา คล้ายนอง” สาวสถาปัตย์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สองเพื่อนในวัย 31 ปีเท่ากัน จับมือเปิดร้านอาหารพื้นบ้านพื้นถิ่นที่ชื่อว่า “วันวาน Local food at trang” ณ ริมถนนสายตรัง-พัทลุง เส้นออกมาจากตัวเมืองตรัง ไปทางอำเภอนาโยง ก่อนจะถึงสี่แยกท่าปาป ประมาณ 400 เมตร ด้วยแนวคิดที่แปลกแหวกแนวเป็นร้านแรกร้านเดียวของจังหวัดตรัง ทั้งอาหาร รูปแบบ และบรรยากาศที่คงความเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น ทั้งนี้ เนื่องจากครอบครัวของเพื่อนสาวสถาปัตย์ ในพื้นที่ตำบลนาบินหลา อำเภอเมืองตรัง ประกอบอาชีพปลูกกล้วยพังลา (ภาษาถิ่นใต้) หรือกล้วยตานี มายาวนานหลายสิบปี เพื่อตัดใบมาแปรรูปเป็นใบตอง และนำกาบมาแปรรูปเป็นเชือกส่งขายพ่อค้าแม่ค้า ส่วนครอบครัวของเพื่อนหนุ่มนักกฎหมาย ก็มีความเชี่ยวชาญในการปรุงอาหารพื้นบ้านพื้นถิ่น จึงนำมาผสมผสานเข้ากันอย่างลงตัว ด้วยการนำใบตอง และเชือกมาเป็นภาชนะในการรอง หรือใส่อาหารที่ลูกค้าสั่งทานในร้าน รวม

เปิดตัว “หมู่บ้านข้าวหลาม” บันทึกความทรงจำ 150 ปี โชว์ 6 ไส้เด็ด (มีคลิป)

รูปภาพ
เปิดตัว “หมู่บ้านข้าวหลาม” บันทึกความทรงจำ 150 ปี โชว์ 6 ไส้เด็ด (มีคลิป) เปิดตัว “หมู่บ้านข้าวหลาม” พร้อมมอบป้ายและวัสดุอุปกรณ์ให้ตัวแทนครัวเรือนผลิตข้าวหลาม ได้ร่วมกันจัดตั้ง “หมู่บ้านข้าวหลาม” ขึ้น โดยปรับปรุงรูปแบบและวิธีการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ข้าวหลาม ให้มีรสชาติที่ถูกปากถูกใจทันสมัยและได้มาตรฐานเพื่อสร้างจุดเด่นอัตลักษณ์หมู่บ้าน เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ อย่างมั่นคง  สืบเนื่องจากที่บ้านบนควน ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ชาวบ้านประกอบอาชีพการทำนากันมาก ข้าวที่ปลูกมีทั้งข้าวจ้าวและข้าวเหนียว ข้าวจ้าวจะเก็บไว้กินเป็นอาหารหลักและขายบ้าง ส่วนข้าวเหนียวจะนำมาทำข้าวหลาม เพราะหลังจากทำนาก็จะมีเวลาว่างในการทำกิจกรรมร่วมกับญาติมิตรและเพื่อนบ้าน ต่อมาได้มีการทำข้าวหลามถวายพระ และนำไปร่วมงานประเพณีต่างๆ เช่น วันเข้าพรรษา งานเดือนสิบ งานลอยกระทง งานขึ้นบ้านใหม่ และนำไปฝากเยี่ยมญาติโอกาสต่างๆ ถ้านึกถึงข้าวหลามจังหวัดตรัง ต้องข้าวหลามบ้านบนควน ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง มีตำนานกว่า 150 ปี ชาวบ้านทำข้าวหลามกันทั้งหมู่บ้าน ผ่านการรับรองมาตรฐานข้าวหลามคุณภาพผลิตภัณฑ์ OTOP รสชาติห

ศรีทองดำ มะนาวพันธุ์ ใหม่ อ.ย่านตาขาว ณ จังหวัดตรัง (มีคลิป)

รูปภาพ
ศรีทองดำ มะนาวพันธุ์ ใหม่ ณ จังหวัดตรัง ชาวตำบลนาชุมเห็ด อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง พบมะนาว “พันธุ์ศรีทองดำ” สายพันธุ์ใหม่ของไทย ซึ่งนำเปลือกมารับประทานได้โดยไม่มีรสขม แถมมีรสชาติหวานมัน และมีกลิ่นหอม ใช้ระยะเวลาปลูกแค่ 8 เดือน ก็ให้ผลผลิตแล้ว นายประสิทธิ์ จิตสุวรรณ กรรมการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี เปิดเผยมะนาวสายพันธุ์ใหม่ของอำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ชื่อพันธุ์ว่า “ ศรีทองดำ” หรือที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกกันว่าพันธุ์ “แก้ขัด” ได้มาจากการนำยอดมะนาวสายพันธุ์ตาฮิติ จากจังหวัดนคร นายก มาเสียบข้าง หรือเสียบฝากลงไปยังกิ่งส้มโอสายพันธุ์ปัตตาเวีย จากจังหวัดนครปฐม หลังจากนั้น 2 เดือน มะนาวเริ่มตกดอกและติดผล และทนแล้งได้ดี สำหรับมะนาวสายพันธุ์ศรีทองดำ มีจุดเด่นที่แตกต่างไปมะนาวอื่นๆคือ ใบมีลักษณะเรียว มีเปลือกผลอ่อนนุ่มเหมือนกับส้มโอ อีกทั้งผลมีขนาดโตกว่ามะนาวทั่วไปและมีผลชุก ช่อละ 8-10 ลูก แต่ที่แปลกที่สุดคือเปลือกรับประทานได้ ไม่มีรสขมเหมือนมะนาวอื่นๆ กลับหวานมันและมีกลิ่นหอม คั้นน้ำได้เยอะ ประหยัดและนำไปปรุงอาหารได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะใส่แกง หรือนำมาประกอบส้มตำ ขณะที่น้ำก็ยังมีความเป

มีดพร้านาป้อ ภูมิปัญญา 300 ปีที่เมืองตรัง (มีคลิป)

รูปภาพ
มีดพร้านาป้อ ภูมิปัญญา 300 ปีที่เมืองตรัง (มีคลิป) ทั้งทน ทั้งคมคม ใช้สมค่า ลือว่า แขกนาป้อ ยอพร้าขาย ดำรง ภูมิปัญญา รุ่นตายาย สืบสาย ปัจจุบัน ยังมั่นคง ภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างหนึ่งของคนตรังนั่นคือ "การตีมีดพร้าบ้านนาป้อ"  ที่บ้านนาป้อเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ตั้งอยู่ที่ ม.8 ต.ควนปริง อ.เมือง จ.ตรัง บ้านนาป้อนั้นผลิตมีดพร้ามามากกว่า 300 ปี เป็นมีดที่ผลิตสำหรับชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ ใช้ในเกษตรและชีวิตในประจำวัน นอกจากมีดพร้าแล้วชุมชนที่นี่ยังผลิตเครื่องมือทางเกษตรต่างๆ อีกมากมาย เช่น จอบ เสียม คราด ชะแลง ขวาน และอื่นๆ จากคำบอกเล่าของชาวบ้าน หมู่บ้านนาป้อ มีชื่อเสียงในเรื่องการผลิตมีดพร้า ทุกคนในครัวเรือนจะผลิตมีดพร้ากัน ตำนานเล่าว่ามีชาย 2 คน ชื่อนายเพชรกับนายคง ต้อนวัวควายไปขายที่กันตัง ระหว่างทางนั่งพักเหนื่อยใต้ต้นจากจนหลับไป พอตื่นขึ่นมาก็เห็นเรือพุพังจอดทิ้งอยู่จึงได้ถอนเอาตะปูเรือกลับมาด้วย ลองเอาตะปูโยนใส่ไฟกลายเป็นเหล็กแหลมใช้เจาะดินหยอดเมล็ดพืชในการเพาะปลูก ต่อมาได้ทดลองหาเหล็กมาเผา ตีเป็นรูปทรงต่างๆ ทำเป็นเครื่องมือเกษตรที่ใช้งานได้หลากหลาย “เอกลักษณ์ของมีดพร้านาป้อ ที่ม

ปลาดาว ดาวทะเลตรัง (มีคลิป)

รูปภาพ
ปลาดาว ดาวทะเลตรัง (มีคลิป) ความงาม ประดับ กับเลตรัง ดาวทะเล หรือเรียกกันทั่วไปว่า ปลาดาว (Starfish, Seastar) เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูก สันหลัง อยู่ในชั้น Asteroidea ลักษณะทั่วไป มีลำตัวแยกเป็นห้าแฉกคล้ายรูปดาว เรียกว่าแขน ส่วนกลางมีลักษณะเป็นจานกลม ด้านหลังมีตุ่มหินปูนขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป มีปากอยู่ด้านล่างบริเวณจุดกึ่งกลางของลำตัว ใต้แขนแต่ละข้างมีหนวดสั้นๆ เรียงตามส่วนยาวของแขนเป็นคู่ๆ มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อที่เหนียวและแข็งแรง เรียกว่า โปเดีย ใช้สำหรับยึดเกาะกับเคลื่อนที่ มีสีต่า งๆ ออกไป ทั้ง ขาว ชมพู แดง ดำ ม่วง หรือน้ำเงิน เป็นต้น พบอยู่ตามชายฝั่งทะเล โขดหิน และบางส่วนอาจพบได้ถึงพื้นทะเลลึก กินหอยสองฝา โดยเฉพาะหอยนางรม กุ้ง ปู หนอน และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ เช่น ฟองน้ำหรือปะการัง เป็นอาหาร ดาวทะเลพบอยู่ในทะเลทั่วโลก ทั้งมหาสมุทรแปซิฟิก แอตแลน ติก มหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งในเขตขั้วโลกอย่างมหาสมุทรอาร์กติก และแอนตาร์กติกา โดยถึงปัจจุบันพบประมาณ 1,800 ชนิด ดาวทะเลขนาดเล็กอาจมีความกว้างเพียง 1 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดอาจยาวได้ถึง 1 เมตร และในบางชนิดอาจมีแขนมากกว่

คนตรัง หอมมะลิ ณ จังหวัดตรัง (มีคลิป)

รูปภาพ
คนตรัง หอมมะลิ ณ จังหวัดตรัง ข้าวหอม หอมกลิ่น รื่นรินหอม รวงน้อม เคารพ น้อมนบไหว้ “สุนทร” เยี่ยงพ่อ ก่อสายใย หอมมะลิ หอมไกล ไปสากล ดร. สุนทร สีหะเนิน คนตรัง ผู้สร้างข้าวหอมมะลิ ไทย ........ดร.สุนทร (ชื่อเดิมสร้อย) สีหะเนิน ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น ๗ ตำนานข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ ๑๐๕ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของข้าวหอมมะลิ ในวัย ๙๓ ปี (ย่างเข้าสู่ ๙๔ ปี) ............ดร.สุนทร สีหะเนิน เกิดเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๖๖ ในครอบครัวชาวนา อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ............เป็นข้าราชการบำนาญ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พักอาศัยอยู่ร่วมกับบุตรสาวที่แต่งงานแล้วที่บ้านเลขที่ ๕๒/๑๒๔ และ ๕๒/๑๒๓ ซอยเกษตรศาสตร์ ๗ ถนนพหลโยธิน ซอย ๔๕ บางเขน กรุงเทพฯ การศึกษา: -ประถมศึกษา จากโรงเรียนตรังภูมิ จังหวัดตรัง -มัธยมศึกษา จากโรงเรียนวิเชียรมาตุ จังหวัดตรัง -อนุปริญญา จากโรงเรียนเตรียมวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดเชียงใหม่ งานประจำ: ........เข้ารับราชการตั้งแต่ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๘๖ และมีความเจริญในหน้าที่การงาน ตลอดจนได้รับการเลื่อนตำแหน่งเรื่อยมา นับตั้งแต่ตำแหน่ง -พนักงานข้าวจัตวา อำเภอบาง

หลายรูป

new1

loading...