เปิดตัว “หมู่บ้านข้าวหลาม” บันทึกความทรงจำ 150 ปี โชว์ 6 ไส้เด็ด (มีคลิป)
เปิดตัว “หมู่บ้านข้าวหลาม” บันทึกความทรงจำ 150 ปี โชว์ 6 ไส้เด็ด (มีคลิป)
เปิดตัว “หมู่บ้านข้าวหลาม” พร้อมมอบป้ายและวัสดุอุปกรณ์ให้ตัวแทนครัวเรือนผลิตข้าวหลาม ได้ร่วมกันจัดตั้ง “หมู่บ้านข้าวหลาม” ขึ้น โดยปรับปรุงรูปแบบและวิธีการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ข้าวหลาม ให้มีรสชาติที่ถูกปากถูกใจทันสมัยและได้มาตรฐานเพื่อสร้างจุดเด่นอัตลักษณ์หมู่บ้าน เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ อย่างมั่นคง
สืบเนื่องจากที่บ้านบนควน ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ชาวบ้านประกอบอาชีพการทำนากันมาก ข้าวที่ปลูกมีทั้งข้าวจ้าวและข้าวเหนียว ข้าวจ้าวจะเก็บไว้กินเป็นอาหารหลักและขายบ้าง ส่วนข้าวเหนียวจะนำมาทำข้าวหลาม เพราะหลังจากทำนาก็จะมีเวลาว่างในการทำกิจกรรมร่วมกับญาติมิตรและเพื่อนบ้าน ต่อมาได้มีการทำข้าวหลามถวายพระ และนำไปร่วมงานประเพณีต่างๆ เช่น วันเข้าพรรษา งานเดือนสิบ งานลอยกระทง งานขึ้นบ้านใหม่ และนำไปฝากเยี่ยมญาติโอกาสต่างๆ
ถ้านึกถึงข้าวหลามจังหวัดตรัง ต้องข้าวหลามบ้านบนควน ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง มีตำนานกว่า 150 ปี ชาวบ้านทำข้าวหลามกันทั้งหมู่บ้าน ผ่านการรับรองมาตรฐานข้าวหลามคุณภาพผลิตภัณฑ์ OTOP รสชาติหอมหวาน มัน อร่อย ผสมผสานกับกลิ่นหอมของไม้ไผ่ที่เอาไปเผาไฟ เป็น เอกลักษณ์ดั้งเดิม น่าเชื่อถือ มีชื่อเสียง ถือเป็นของดีอำเภอนาโยง เป็นตำนานของฝากคู่งานฉลองรัฐหรืองานเหลิมจังหวัด มาตั้งแต่ปี 2476 ถ้าบอกว่าไปเที่ยวงานเหลิมหรืองานหลองรัฐสิ่งที่ต้องซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้านคือ ข้าวหลาม เป็นของโปรดของใครต่อใครหลายคน เพราะรสชาติอร่อย การทำข้าวหลามนั้นมีหลายขั้นตอน ตั้งแต่การเตรียมกระบอกไม้ไผ่ การผสมข้าวเหนียว รวมไปถึงการย่างเผาไฟให้สุก เป็นมรดกทางภูมิปัญญาตกทอดจากบรรพบุรุษมาสู่รุ่นต่อรุ่น ราคาไม่แพงเริ่มต้นที่ 20-30 บาท ไปจนถึงหลัก 100 บาท ตามขนาดกระบอกไม้ไผ่ และชนิดไส้ต่างๆให้เลือกลอง ในปัจจุบันมีการพัฒนาข้าวหลามให้มีรสชาติ ตามความชอบของคนรักสุขภาพ พัฒนาเป็นข้าวหลามเพื่อสุขภาพ มีการนำธัญพืชมาเป็นส่วนผสมของข้าวหลามทำให้เกิดความแปลกใหม่แตกต่างจากที่อื่น ใส่ส่วนผสมเพื่อเพิ่มรสชาติและสีสัน เช่น ข้าวหลามไส้บ๊ะจ่าง ข้าวหลามไส้เผือก ข้าวหลามไส้หมูย่าง ข้าวหลามธัญพืช ข้าวหลามใบเตย ข้าวหลามดอกอัญชัน ทำให้ผู้คนสนใจมากยิ่งขึ้น นอกจากรสชาติแล้ว ข้าวหลามบ้านบนควนแห่งนี้ ทำให้มีผู้คนสนใจมากยิ่งขึ้น จนได้รับการคัดเลือกให้เป็นสินค้า OTOP ดาวเด่นจังหวัดตรัง เสน่ห์ของข้าวหลามบ้านควนแห่งนี้ นอกจากรสชาติความนุ่ม หอม มันอร่อยแล้ว ข้าวหลามที่นี่รับประทานง่ายด้วยวิธีลอกเปลือกไม้ไผ่ด้านนอกออก จะเหลือเยื่อไม้ไผ่ห่อหุ้มข้าวเหนียวอย่างสม่ำเสมอสวยงามเป็นพิเศษ น่ารับประทานเป็นอย่างยิ่ง
จากการสอบถามคุณยายเสริม เกือบแก้ว อายุ 85 ปี อยู่บ้านเลขที่ 37 ม.8 ต.โคกสะบ้า อ.นาโยง จ.ตรัง ซึ่งเป็นคนทำข้าวหลาม รุ่นที่ 3 กล่าวว่า ตนเองได้ทำข้าวหลามมากว่า 50 ปีแล้ว ซึ่งตนเองสืบทอดมาเป็นรุ่นที่ 3 แล้ว ได้ทำข้าวหลามมาตั้งแต่รุ่นของคุณตา คุณแม่ ตนเอง ส่งต่อไปยังรุ่นลูก และหลาน ผ่านมาเข้ารุ่นที่ 5 แล้ว รวมระยะเวลากว่า 150 ปี โดยมีการทำแบบรวมกลุ่มกันทำ ช่วงแรกๆ ทำกันแค่ 2-3 ครัวเรือนเท่านั้น ซึ่งทำเฉพาะข้าวเหนียวขาว และ ข้าวเหนียวดำ มีแค่ 2 อย่างเท่านั้น ตอนนี้ได้พัฒนาปรับปรุงรสชาติมาถึง 7-8 อย่าง คือ ข้าวหลามเหนียวขา ว ข้าวหลามเหนียวดำ ข้าวหลามบะจ่าง ข้าวหลามอัญชัน ข้าวหลามใบเตย ข้าวหลามเผือก ข้าวหลามหมูย่าง ข้าวหลามปลากะพง ซึ่งสร้างความสนใจให้กับนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ซึ่งในขณะนี้ประชาชนในหมูบ้านได้หันมารวมกลุ่มทำข้าวหลามกันมากขึ้น กว่า 20 ครัวเรือน จนได้มีการส่งเสริมเป็นหมู่บ้านข้าวหลาม ส่วนรายได้ทั้งหมดที่เข้าสู่หมูบ้าน สามารถสร้างรายได้ให้กับคนในกลุ่มข้าวหลามมากกว่า ปีละ 500,000 บาท
***ข้อมูล : สำนักข่าวทีนิวส์ จ.ตรัง
สืบเนื่องจากที่บ้านบนควน ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ชาวบ้านประกอบอาชีพการทำนากันมาก ข้าวที่ปลูกมีทั้งข้าวจ้าวและข้าวเหนียว ข้าวจ้าวจะเก็บไว้กินเป็นอาหารหลักและขายบ้าง ส่วนข้าวเหนียวจะนำมาทำข้าวหลาม เพราะหลังจากทำนาก็จะมีเวลาว่างในการทำกิจกรรมร่วมกับญาติมิตรและเพื่อนบ้าน ต่อมาได้มีการทำข้าวหลามถวายพระ และนำไปร่วมงานประเพณีต่างๆ เช่น วันเข้าพรรษา งานเดือนสิบ งานลอยกระทง งานขึ้นบ้านใหม่ และนำไปฝากเยี่ยมญาติโอกาสต่างๆ
ถ้านึกถึงข้าวหลามจังหวัดตรัง ต้องข้าวหลามบ้านบนควน ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง มีตำนานกว่า 150 ปี ชาวบ้านทำข้าวหลามกันทั้งหมู่บ้าน ผ่านการรับรองมาตรฐานข้าวหลามคุณภาพผลิตภัณฑ์ OTOP รสชาติหอมหวาน มัน อร่อย ผสมผสานกับกลิ่นหอมของไม้ไผ่ที่เอาไปเผาไฟ เป็น เอกลักษณ์ดั้งเดิม น่าเชื่อถือ มีชื่อเสียง ถือเป็นของดีอำเภอนาโยง เป็นตำนานของฝากคู่งานฉลองรัฐหรืองานเหลิมจังหวัด มาตั้งแต่ปี 2476 ถ้าบอกว่าไปเที่ยวงานเหลิมหรืองานหลองรัฐสิ่งที่ต้องซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้านคือ ข้าวหลาม เป็นของโปรดของใครต่อใครหลายคน เพราะรสชาติอร่อย การทำข้าวหลามนั้นมีหลายขั้นตอน ตั้งแต่การเตรียมกระบอกไม้ไผ่ การผสมข้าวเหนียว รวมไปถึงการย่างเผาไฟให้สุก เป็นมรดกทางภูมิปัญญาตกทอดจากบรรพบุรุษมาสู่รุ่นต่อรุ่น ราคาไม่แพงเริ่มต้นที่ 20-30 บาท ไปจนถึงหลัก 100 บาท ตามขนาดกระบอกไม้ไผ่ และชนิดไส้ต่างๆให้เลือกลอง ในปัจจุบันมีการพัฒนาข้าวหลามให้มีรสชาติ ตามความชอบของคนรักสุขภาพ พัฒนาเป็นข้าวหลามเพื่อสุขภาพ มีการนำธัญพืชมาเป็นส่วนผสมของข้าวหลามทำให้เกิดความแปลกใหม่แตกต่างจากที่อื่น ใส่ส่วนผสมเพื่อเพิ่มรสชาติและสีสัน เช่น ข้าวหลามไส้บ๊ะจ่าง ข้าวหลามไส้เผือก ข้าวหลามไส้หมูย่าง ข้าวหลามธัญพืช ข้าวหลามใบเตย ข้าวหลามดอกอัญชัน ทำให้ผู้คนสนใจมากยิ่งขึ้น นอกจากรสชาติแล้ว ข้าวหลามบ้านบนควนแห่งนี้ ทำให้มีผู้คนสนใจมากยิ่งขึ้น จนได้รับการคัดเลือกให้เป็นสินค้า OTOP ดาวเด่นจังหวัดตรัง เสน่ห์ของข้าวหลามบ้านควนแห่งนี้ นอกจากรสชาติความนุ่ม หอม มันอร่อยแล้ว ข้าวหลามที่นี่รับประทานง่ายด้วยวิธีลอกเปลือกไม้ไผ่ด้านนอกออก จะเหลือเยื่อไม้ไผ่ห่อหุ้มข้าวเหนียวอย่างสม่ำเสมอสวยงามเป็นพิเศษ น่ารับประทานเป็นอย่างยิ่ง
จากการสอบถามคุณยายเสริม เกือบแก้ว อายุ 85 ปี อยู่บ้านเลขที่ 37 ม.8 ต.โคกสะบ้า อ.นาโยง จ.ตรัง ซึ่งเป็นคนทำข้าวหลาม รุ่นที่ 3 กล่าวว่า ตนเองได้ทำข้าวหลามมากว่า 50 ปีแล้ว ซึ่งตนเองสืบทอดมาเป็นรุ่นที่ 3 แล้ว ได้ทำข้าวหลามมาตั้งแต่รุ่นของคุณตา คุณแม่ ตนเอง ส่งต่อไปยังรุ่นลูก และหลาน ผ่านมาเข้ารุ่นที่ 5 แล้ว รวมระยะเวลากว่า 150 ปี โดยมีการทำแบบรวมกลุ่มกันทำ ช่วงแรกๆ ทำกันแค่ 2-3 ครัวเรือนเท่านั้น ซึ่งทำเฉพาะข้าวเหนียวขาว และ ข้าวเหนียวดำ มีแค่ 2 อย่างเท่านั้น ตอนนี้ได้พัฒนาปรับปรุงรสชาติมาถึง 7-8 อย่าง คือ ข้าวหลามเหนียวขา ว ข้าวหลามเหนียวดำ ข้าวหลามบะจ่าง ข้าวหลามอัญชัน ข้าวหลามใบเตย ข้าวหลามเผือก ข้าวหลามหมูย่าง ข้าวหลามปลากะพง ซึ่งสร้างความสนใจให้กับนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ซึ่งในขณะนี้ประชาชนในหมูบ้านได้หันมารวมกลุ่มทำข้าวหลามกันมากขึ้น กว่า 20 ครัวเรือน จนได้มีการส่งเสริมเป็นหมู่บ้านข้าวหลาม ส่วนรายได้ทั้งหมดที่เข้าสู่หมูบ้าน สามารถสร้างรายได้ให้กับคนในกลุ่มข้าวหลามมากกว่า ปีละ 500,000 บาท
***ข้อมูล : สำนักข่าวทีนิวส์ จ.ตรัง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น