3รูปเล็ก

10 เรื่องในเมืองตรังที่คุณ อาจไม่เคยรู้

10 เรื่องในเมืองตรังที่คุณ อาจไม่เคยรู้

10 เรื่องในเมืองตรังที่คุณไม่เคยรู้

จังหวัดตรัง เป็นจังหวัดชายทะลฝั่งทะเลอันดามัน หลายคนหลงใหลความงดงามของธรรมชาติของเมืองตรัง ทว่าเมืองตรังมีหลายเรื่องที่คุณยังไม่เคยรู้

1.คนตรังเรียกตัวเมืองว่า "ทับเที่ยง"

ตัวเมืองตรังในสมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง)อยู่ที่อำเภอกันตัง กันตังเป็นศูนย์กลางทางการค้าในช่วง 2445-2460 ด้วยเพราะมีทั้งท่าเรือ ทางรถไฟสายกันตัง-ทุ่งสง ทางรถไฟสายเดียวในฝั่งทะเลอันดามัน มีการตัดถนนเชื่อมไปยัง จ. นครศรีธรรมราช พัทลุงด้วย ก่อนย้ายมาที่บ้านทับเที่ยงซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองในปัจจุบัน คนตรังเลยเรียกตัวเมืองว่าทับเที่ยง

2.พระยารัษฎาฯเกิดระนอง แต่ทำให้เมืองตรังเจริญ

พระยารัษฎาฯ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2400 ที่ จ. ระนอง ในครอบครัวชาวจีนฮกเกี้ยน เริ่มรับราชการเมื่อปี พ.ศ. 2425 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ตำแหน่งหลวงบริรักษ์โลหะวิไสย ผู้ช่วยเจ้าเมืองระนอง แล้วเลื่อนเป็นเจ้าเมืองกระบุรีในตำแหน่งพระอัตฎงคตทิศรักษา   กระทั่งปี พ.ศ. 2433 รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี เจ้าเมืองตรัง ในช่วงที่เป็นเจ้าเมืองตรัง ได้พัฒนาให้ตรังเป็นเมืองศูนย์กลางภาคใต้ฝั่งอันดามัน ต่อมาพ.ศ.2525 คณะทำงานกิจกรรมวันข้าราชการพลเรือนได้ประกาศยกย่องให้พระยารัษฎาฯ เป็น 1 ใน 5 ข้าราชการดีเด่นในรอบ 200 ปีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

3.ชาวตรังชอบกินหมูย่างกับชาหรือกาแฟตอนเช้า

ใครไปเที่ยวเมืองตรัง อาหารเช้าที่ขึ้นชื่อคือกาแฟและติ่มซำ หนึ่งในติ่มซำคือหมูย่างชาวตรังจะนิยมกินกับกาแฟ ด้วยรสชาติที่หวานและหอมเนื้อหมูย่าง เข้ากันกับรถขมเข้มของกาแฟ

4. ขนมเปี๊ยะของเขาขึ้นชื่อ

หลายคนเบื่อที่จะซื้อขนมเค้กเมื่อเมืองตรัง "นายรอบรู้" อยากจะบอกว่ามีที่นี้ก็ขึ้นชื่อเรื่องขนมเปี๊ยะ ด้วยเนื้อแป้งที่นุ่มปากและไส้ก็อร่อย บางเจ้ายังมีต้นตำรับจากฮ่องกง และตกทอดมาจนถึงรุ่นปัจจุบัน "นายรอบรู้" รับรองซื้อแล้วต้องบอกต่อ

5. ยางพาราต้นแรกเกิดที่ตรัง

ยางพาราต้นแรกหยั่งรากลง ณ ผืนดิน จ. ตรัง ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่อังกฤษนำเข้ามาปลูกที่รัฐเประ ประเทศมาเลเซีย ราวปี พ.ศ. 2419-2421  ต่อมาปี พ.ศ.2442-2444 สมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีเป็นเจ้าเมืองตรัง พระยาสถลสถานพิทักษ์ (คออยู่เกียด ณ ระนอง) ผู้เป็นหลาน ได้นำเมล็ดพันธุ์ยางพาราจากมาเลเซียมาปลูกใน อ. กันตัง  พระยารัษฎาฯ ส่งเสริมให้ชาวบ้านบ้านบางหมาก ต. กันตังใต้ และบ้านตูลูลู้ด ต. ช่อง ใน อ. กันตัง ปลูกยางพาราเป็นสวนขนาดใหญ่ พร้อมกับสร้างโรงบ่มยางพาราขนาดใหญ่ขึ้นที่ อ. เมืองตรัง เพื่อใช้บ่มแผ่นยางพาราก่อนนำส่งขาย
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยางพารามีราคาสูงมาก รัฐบาลจึงส่งเสริมให้ประชาชนปลูกยางพารา โดยเฉพาะทางภาคใต้  จ. ตรังมีพื้นที่ปลูกยางพาราทั้งหมด 1,309,313 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8 ของพื้นที่ปลูกยางพาราทั้งประเทศ และปลูกมากเป็นอันดับ 4 ของประเทศ (ข้อมูลจากสถาบันวิจัยยาง พ.ศ. 2550)  ปัจจุบันยางพารารุ่นแรกที่นำเข้ามาปลูกเหลืออยู่เพียงต้นเดียวบริเวณหน้าสหกรณ์การเกษตรกันตัง จำกัด ถ. ตรังคภูมิ ใน อ. กันตัง

6. สูตรหมูย่างมาจากกวางตุ้ง




สูตรหมูย่างเมืองตรังมีขึ้นเมื่อ 100 กว่าปีก่อน  นายซุ่น ชาวจีนกวางตุ้งซึ่งอพยพมาอยู่เมืองตรัง มีฝีมือการทำหมูย่างด้วยสูตรประจำตระกูล ได้เข้าทำงานที่ร้านอาหารฟองจันทร์ใน อ. เมืองตรัง และมีลูกศิษย์มากมาย สูตรหมูย่างของนายซุ่นจึงแพร่หลายไปทั่วทั้งจังหวัด และเป็นที่รู้จักของคนถิ่นอื่นเมื่อมีการจัดงานเทศกาลหมูย่างเมืองตรังขึ้นใน พ.ศ. 2533หมูย่างเมืองตรังใช้หมูอายุราว 3-4 เดือน หมักกับเครื่องพะโล้และน้ำผึ้ง 1 วันก่อนนำไปย่าง โดยย่าง 2 ครั้ง ครั้งแรกย่างราว 20 นาทีให้หนังสุกพอควร จากนั้นย่างด้วยไฟอ่อนๆ อีก 1-2 ชั่วโมง ได้หมูย่างรสเลิศหน้าตาน่ากิน

7. "ศรีตรัง" ดอกไม้ประจำเมืองตรังมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้


มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ ชาวอังกฤษนำเข้ามาปลูกที่ประเทศมาเลเซีย และเชื่อกันว่าพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีนำมาปลูกที่ จ. ตรังเป็นที่แรกของไทย จึงเป็นที่มาของชื่อ "ศรีตรัง"ผลิดอกบานสะพรั่งในฤดูร้อนราวเดือน ก.พ.-พ.ค. ดอกศรีตรังสีม่วงอ่อนจะบานสะพรั่งตามถนนสายต่างๆ โดยเฉพาะ ถ. กันตัง และทางเลี่ยงเมืองห้วยยอดใน อ. เมืองศรีตรังเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ 

8. ตุ๊กตุ๊กหัวกบ


เมืองตรังนำเข้า รถตุ๊กตุ๊กหัวกบมาจากญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2509 เพื่อนำมาส่งของสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ต่อมามีการดัดแปลงเป็นรถโดยสาร ปัจจุบันตุ๊กตุ๊กหัวกบกลายเป็นพาหนะเดินทางของนักท่องเที่ยวไปแล้ว ใครไปเมืองมืองตรัง ถ้าไม่ได้นั่งตุ๊กตุ๊กแสดงว่ามาไม่ถึง

9. ปะการังเมืองตรังมีพื้นที่เท่ากับพื้นที่พิพาทเขาพระวิหาร

เมืองตรังมีเกาะมากมาย เช่นเกาะแหวน เกาะเชือก เกาะเหลาเลียง เกาะมุกต์ ก็อุดมไปด้วยปะการังหลายชนิด โดยเฉพาะปะการังอ่อนเจ็ดสีซึ่งเกิดในพื้นที่โขดหินหรือหน้าผาใต้น้ำลึกไม่เกิน 60 ม. กระแสน้ำไหลแรง น้ำค่อนข้างใส อุณหภูมิระหว่าง16-36 องศาเซลเซียส และมีความเค็มเหมาะสม  นอกจากนี้ยังมีปะการังแข็งอย่างปะการังรังผึ้ง ปะการังเขากวาง ปะการังจาน ซึ่งพบในความลึกราว 3-8 ม.กระจายอยู่ตามเกาะต่างๆ คิดเป็นพื้นที่กว่า 4.47 ตร.กม. (ข้อมูลจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2551)

10. พะยูนมีบ้านอยู่ที่นี่

ท้องทะเลตรังเป็นถิ่นอาศัยของพะยูนที่ใหญ่ที่สุดในฝั่งอันดามัน พบเห็นได้บ่อยบิรเวณเกาะลิบง เพราะเป็นแหล่งหญ้าทะเลซึ่งเป็นอาหารหลักของพะยูน บริเวณในตัวเมืองตรังมีวงเวียนน้ำพุประดับด้วยปูนปั้นรูปพะยูน

ที่มา https://www.sanook.com/travel/1392277/

ความคิดเห็น

หลายรูป

new1

loading...

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เป็นบุญตาครับ พระพุทธสิหิงค์เมืองตรัง (รูปหายากมาก)

เขาต่อยไห อ.เมือง ณ จังหวัดตรัง

โรงเรียนอนุกูลสตรีทับเที่ยง โรงเรียนสตรี แห่งแรก เมืองตรัง