3รูปเล็ก

อนุสาวรีย์ขนาดจิ๋วที่สุดในโลก ณ จังหวัดตรัง

อนุสาวรีย์ขนาดจิ๋วที่สุดในโลกอยู่ที่เมืองตรัง



บันทึก ช่วยจำ เผื่อจะทำอะไรต่อไป
....... การสร้างรูปปั้นพระยารัษฎาฯ เป็นอนุสาวรีย์นั้นมีเพิ่มขึ้นอีกในสมัยหลัง คือ ที่ตำบลน้ำราบ กลางเทือกเขาบรรทัด ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งสถานีทดลองยาง นายสมจิต แก้วทิพยรัตน์ ผู้อำนวยการสถานีทดลองยาง (พ.ศ. 2535-2540) เห็นว่าพระยารัษฎาฯ เป็นผู้มีคุณูปการทำให้ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดตรัง จึงจัดทำรูปปั้นพระยารัษฎาฯ มาประดิษฐานไว้เป็นที่ระลึกในบริเวณสำนักงาน รูปปั้น นี้เป็นฝีมือของ นายเดชา เขียวลี อาจารย์สอนศิลปะโรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์
........ บางกระแส ก็ว่า พ่อเมืองตรังสมัย “นายผัน จันทรปาน” ก่อสร้างอนุสาวรีย์เพื่อเป็นเกียรติแด่ “พระยารัษฎานุประดิษฐ์” ผู้นำต้นยางพาราต้นแรกมาปลูกที่จังหวัดตรัง แต่เป็นแนวคิดที่จะทำอนุสาวรีย์ขนาดเล็กที่สุดในโลก บนเขาพับผ้า ริมถนนสายตรัง-พัทลุง จ.ตรัง ร่วมกับ อ.นาโยง เตรียมพลิกฟื้นใหม่เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลังถนนถูกปิด ผู้คนหลงลืม
อนุสาวรีย์ขนาดจิ๋วที่สุดในโลกอยู่ที่เมืองตรัง
...... หากเอ่ยถึงอนุสาวรีย์ในจังหวัดตรังแล้ว ทุกคนคงตอบเป็นเสียงเดียวว่าคือ “อนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี” (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ซึ่งตั้งอยู่ตรงบริเวณวงเวียนที่ออกตัวเมือง ไปยังจังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา ซึ่งคนตรัง หรือนักท่องเที่ยวต่างถิ่นจะนิยมไปสักการบูชา ในฐานะเจ้าเมืองตรัง และเป็นผู้ที่นำต้นยางพารามาปลูกที่จังหวัดตรังเป็นต้นแรกของประเทศไทย แต่จริงๆ แล้วยังมีอนุสาวรีย์อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่บนเขาพับผ้า ริมถนนสายตรัง-พัทลุง บนเทือกเขาบรรทัด ที่หลายคนอาจหลงลืมไปแล้วว่า ณ ที่แห่งนี้ ยังมีรูปปั้นจำลองของ “พระยารัษฎานุประดิษฐ์” ประดิษฐานอยู่อีกด้วย
อนุสาวรีย์ขนาดจิ๋วที่สุดในโลกอยู่ที่เมืองตรัง

...... ทั้งนี้ หากใช้เส้นทางที่ออกจากตัวเมืองตรัง ไปตามถนนสายตรัง-พัทลุง เป็นระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร แต่เมื่อเข้าเขตบ้านน้ำราบ ตำบลช่อง อำเภอนาโยง ให้เลี้ยวขวาเข้าไปยังสถานีทดลองยางตรัง (เก่า) แล้วตรงไปตามเส้นทางถนนเก่า ที่แม้อาจจะคดเคี้ยวไปบ้าง แต่ก็เต็มไปด้วยธรรมชาติสองฝั่งข้างทาง ทั้งต้นไม้ และต้นยางพาราที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งเมื่อขับรถกินลมชมวิวได้ไม่ถึง 2 กิโลเมตร ทางด้านซ้ายมือ ก็จะพบกับ “อนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์” ที่เรียกได้ว่ามีขนาดจิ๋วที่สุดในโลก ตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลางธรรมชาติของขุนเขา โดยมีลักษณะเป็นรูปปั้นที่หล่อด้วยโลหะรมดำ และมีความสูงเพียงแค่ 43 เซนติเมตร หรือ 1 ฟุตเศษๆ เท่านั้น
อนุสาวรีย์ขนาดจิ๋วที่สุดในโลกอยู่ที่เมืองตรัง
จากคำบอกเล่าของอดีตกำนันตำบลช่อง “นายอ้อม ศรีแก้ว” อายุ 67 ปี หนึ่งในผู้ที่มีส่วนร่วมในการก่อสร้างอนุสาวรีย์จิ๋วแห่งนี้ เล่าว่า ได้ดำเนินการขึ้นเมื่อปี 2531-2532 โดยมี “นายผัน จันทรปาน” อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง สมัยนั้น เป็นผู้ริเริ่ม เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้ในอดีตเป็นสถานีทดลองยางที่ใช้สำหรับผลิตพันธุ์ยางพาราเพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่ชาวบ้าน 
ดังนั้น เพื่อเป็นเกียรติแด่ “พระยารัษฎานุประดิษฐ์” ที่นำต้นยางพาราต้นแรกมาปลูกยังจังหวัดตรัง จึงได้ตัดสินใจเลือกสถานที่แห่งนี้ก่อสร้างอนุสาวรีย์ขึ้น โดยแรกๆ ยังตั้งอยู่ในป่ารกทึบ แต่ล่าสุด ได้มีการปรับปรุงพื้นที่ และเทคอนกรีตโดยรอบให้เกิดความสวยงามแล้ว
อนุสาวรีย์ขนาดจิ๋วที่สุดในโลกอยู่ที่เมืองตรัง 

“ประกอบกับในอดีตตรงจุดนี้ ยังเป็นเส้นทางผ่านระหว่างจังหวัดตรัง-พัทลุง จึงเป็นความตั้งใจของผู้ว่าฯ ผัน และมีแนวคิดที่จะสร้างอนุสาวรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด เพื่อให้ผู้คนที่ใช้ถนนผ่านไปมาทั้ง 2 จังหวัด ได้สักการบูชา พร้อมกับปลูกต้นไม้วงศ์ยางไว้ฝั่งตรงข้ามกับอนุสาวรีย์ และปลูกต้นศรีตรัง ต้นไม้ประจำจังหวัดตรัง ไว้สองข้างทาง เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว แต่เมื่อก่อสร้างเสร็จได้เพียงไม่กี่ปีถนนสายนี้ก็ถูกปิด รถทุกคันก็หันไปใช้ถนนสายใหม่กันหมด จึงทำให้ผู้คนหลงลืมอนุสาวรีย์แห่งนี้กันไป”
อนุสาวรีย์ขนาดจิ๋วที่สุดในโลกอยู่ที่เมืองตรัง
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด ทางจังหวัดตรัง ได้ร่วมกับอำเภอนาโยง เตรียมพัฒนาพื้นที่บริเวณนี้ซึ่งมีประมาณ 200 ไร่ เพื่อพลิกฟื้นอนุสาวรีย์จิ๋วให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ โดยการปลูกต้นไม้วงศ์ยาง และต้นศรีตรัง ลงไปเพิ่มเติม พร้อมจัดทำป้ายชื่อ และระบุข้อมูลที่สำคัญไปติดแสดงไว้ให้นักท่องเที่ยวได้รับทราบ หรือมีการตกแต่งบริเวณโดยรอบอนุสาวรีย์ให้ดูน่าประทับใจ ตลอดจนปรับปรุงถนนทางเข้าให้สะดวกสบาย และเชื่อมต่อไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่นเพื่อให้สอดรับกับการขยายถนนเป็น 4 เลน ที่น่าจะเสร็จสิ้นลงในปี 2556 นี้


ความคิดเห็น

หลายรูป

new1

loading...

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เป็นบุญตาครับ พระพุทธสิหิงค์เมืองตรัง (รูปหายากมาก)

เขาต่อยไห อ.เมือง ณ จังหวัดตรัง

โรงเรียนอนุกูลสตรีทับเที่ยง โรงเรียนสตรี แห่งแรก เมืองตรัง