ลูกเนียง ความรู้แบบเจาะลึก คุณรู้เรื่องลูกเนียงแค่ไหน???
ลูกเนียง ........ชื่ออื่น ๆ : ขางแดง, ชะเนียง, เนียงใหญ่, เนียงนก, ผักหละต้น, พะเนียง, มะเนียง, มะเนียงหย่อง, ยิริงหรือยือริง, ยินิกิง, หย่อง, เจ็งโกล, ตานิงิน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Archidendron jiringa (Jack) I.C. Nielsen ชื่อวงศ์ : Leguminosae–Mimosoideae (Fabaceae) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ....... เนียง เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-15 ม. เปลือกต้นสีเทาหรือน้ำตาลอ่อนปนเทา เรือนยอดเป็นพุ่มกลมใหญ่ .......ใบเนียง เป็นช่อแบบขนนก 2 ชั้นแตกแขนงตรงข้ามกัน แต่ละช่อมีใบย่อย 2-4คู่ ใบย่อยปลายใบเรียวแหลม ฐานใบมนและเบี้ยวเล็กน้อย หลังใบเกลี้ยงยอดอ่อนมีสีแดง
ดอกเนียง เป็นช่อกลมเล็กมี 3-6 ดอก ดอกสีขาวขนาดเล็ก กลีบดอกมี 5 กลีบ ขนาดเล็กมาก โคนดอกติดกันเป็นหลอดยาว 2 ซม. ...... ผลเนียง เป็นฝักแบนเป็นเกลียวไปทางเดียว กันคล้ายรูปเกือกม้า ผิวสีน้ำตาลคล้ำหรือสีน้ำตาลอมม่วง มีเมล็ดไม่เกิน 10 เมล็ดต่อฝัก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5 ซม. คล้ายฝาหอยแครง 2 ฝา ประกบกัน ประโยชน์ด้านอาหาร :ลูกเนียงหรือเมล็ดเนียง เป็นผักที่ นิยมรับประทานกัน โดยเฉพาะทางภาคใต้ของไทย เรา ซึ่งนิยมรับประทานเป็นผักสด ใช้ลูกอ่อนปอก เปลือกจิ้มน้ำพริก หรือรับประทานร่วมกับอาหารรส เผ็ด หรือบริโภคลูกเนียงเพาะ (นำลูกเนียงไปเพาะในฟางจนต้นอ่อนงอก) ลูกเนียงดอง
หรือทำให้สุก โดยต้มหรือย่าง ลูกเนียงนับเป็นผักที่มีคุณค่าทาง อาหาร คือ มีโปรตีน คาร์โบไฮเดรท ไขมัน วิตามิน กรดโฟลิค และแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก มีกรดอะมิโน 18 ชนิด และมี กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบทั้ง 8 ชนิด บางคนรับประทานแล้วเกิดอาการผิดปกติ หรือเกิดอาการแพ้ ชาวบ้านเรียกว่า “เนียงมัด” มักเกิดอาการภายใน 2-14 ชม. ภายหลังรับประทาน เริ่มด้วยมีอาการปวดตามบริเวณขาหนีบ ปัสสาวะลำบาก ปวดปัสสาวะมาก บางรายไม่มีปัสสาวะ (anuria) ปัสสาวะขุ่นข้น บางคราวปัสสาวะเป็นเลือด บางรายมีอาการปวดท้องแบบ colic ปวดท้องน้อย และปวดหลัง อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตสูง
การปรุงอาหาร : ......ผลอ่อน รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก หรือรับประทานร่วมกับอาหารรสเผ็ดและขนมจีน นำลูกเนียงไปดองรับประทานเป็นผัก ลักษณะพิเศษ : .......ลูกเนียง รสฝาด รสมัน เนียงมี 3 ชนิด คือ เนียงดาน เนียงข้าว และเนียงนก เนียงดานใน 1 ช่อ มี 10-12 เมล็ด เนียงข้าวจะมีเมล็ดกลมป้อม ในหนึ่งช่อมีถึง 15-20 เมล็ด ทั้ง 2 ชนิด ออกช่อเกือบสุดปลายกิ่ง การปลูก : ...... เนื่องจากลูกเนียงเป็นพืชที่มีขึ้นอยู่แล้วตามธรรมชาติ จึงไม่ค่อยมีผู้ปลูกเป็นอาชีพกันเท่าไหร่ จะทำการปลูกโดยการใช้เมล็ดที่แก่จัดมาเพาะ แล้วนำต้นกล้าย้ายลงปลูก
ข้อควรระวัง : ....... ลูกเนียง อาจทำให้บางคนที่บริโภคมีอาการลูกเนียงเป็นพิษ ที่ชาวบ้านเรียก ”ลูกเนียงมัด” (Djenkolism) โดยจะทำให้มีอาการจุกเสียด ปัสสาวะไม่ออก พบผลึกของกรดเจงโคลิก (Djenkolic acid) ที่มีอยู่ในลูกเนียง ในไต ท่อปัสสาวะ หรือรายที่มีอาการรุนแรงจะพบใน ปัสสาวะ ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายเป็นโรคนิ่วในไต หรือในท่อปัสสาวะ ขอบคุณเครดิตFB บุญครอง คันธฐากูร จากกลุ่ม ย้อนรอยเมืองตรัง ลิ้ง https://www.facebook.com/groups/721466051201182/permalink/1452677658080014/ ครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น